วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ลดความรุนแรง ด้วยหลัก “มนุษยธรรม”



           ต้องเกริ่นก่อนว่า ในสังคมปัจจุบันของเรา เกิดความขัดแย้งกันมากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขัดแย้งทางการเมือง การขัดแย้งกันในครอบครัว การขัดแย้งกันระหว่างสถานบันกานศึกษา และอื่นๆ อีกมากมายไม่รู้จบ และมีหลายกรณีที่มีใช้ความรุนแรงเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ  การแก้ปัญหาโดยอารมณ์ชั่ววูบแบบนี้ อาจนำมาซึ่งการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของตนเอง ผู้ที่ตนรัก หรือผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง(ลูกหลง) ก็อาจได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน   จริงหรือ??  ที่ความขัดแย้งเกิดจากการขาด “มนุษยธรรม”  เรามาหาคำตอบกันดีกว่าครับ

          วันก่อนผมมีโอกาสไปเก็บภาพการอบรมวิทยากรยุวกาชาด เรื่องการกาชาดและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน 2558 ที่โรงแรมใบหยก ประตูน้ำ  ซึ่งจัดโดยสำนักงานยุวกาชาด  สภากาชาดไทย ผมได้คุยกับท่านสุนันทา ศรอนุสิน ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทยในระหว่างการอบรม  ท่านบอกว่ากลุ่มเป้าหมายของการอบรมในครั้งนี้คืออาสายุวกาชาด อายุระหว่าง 15 ถึง 25 ปีทั่วประเทศ ที่ทางสำนักงานยุวกาชาดดูแลอยู่ แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการอบรมในเรื่องดังกล่าวให้อาสายุวกาชาดที่กระจายอยู่ในสถานศึกษาทั่วประเทศในคราวเดียว ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายในการอบรมครั้งนี้ จึงเป็นครู อาจารย์  ที่เข้ารับการอบรมเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับเยาวชน และอาสายุวกาชาดต่อไป


         เข้าประเด็นกันต่อเลยดีกว่าครับ   หัวข้อในการอบรมครั้งนี้ คือ กฎหมายมุนษยธรรมระหว่างประเทศซึ่งหลายคนอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดความขัดแย้งมากมายหลายด้านลงได้ โดยเนื้อหาการอบรมครั้งนี้ เรามุ่งเน้นการให้ความรู้ในเรื่องของการลดความขัดแย้งผ่านรูปแบบกิจกรรม และการจำลองเหตุการณ์ในแบบต่างๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยตรง  สำหรับรูปแบบของกิจกรรมนั้น จะสอดแทรกเรื่องของการมีมนุษยธรรมต่อเพื่อนร่วมโลก การมีจิตอาสาพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือผู้อื่น การสอนให้ทุกคนเห็นถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเองทุกคน และทุกคนควรเคารพซึ่งศักดิ์ศรีที่แต่ละคนมี  ผมรู้สึกโดนใจกับคำพูดของท่านวิทยากร ที่บอกว่า “ศักดิ์ศรีของเราอยู่ที่หัว ถ้าเราไม่อยากโดนเขาตบหัว เราก็อย่าไปตบหัวเขาก่อน” ถ้าคิดกันแบบนี้ ปัญหาการตีกันของนักเรียนคงลดลง เนื้อหาสำคัญของการอบรมในครั้งนี้อีกอย่างหนึ่งคือ การสะท้อนให้เห็นถึงการสูญเสียเมื่อนำความรุนแรงมาใช้ในการแก้ไขความขัดแย้ง  





  

 

 

 






นอกจากนี้ ในระหว่างการอบรม ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้เข้าอบรม ได้ถามถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ และการจะนำไปเผยแพร่ให้กับเยาวชนอย่างไร

นางสาวนารถฤดี รักขันโท ครูกศน.เขตยานาวา กล่าวว่า จากการที่ได้เข้าร่วมการอบรมฯ ในครั้งนี้ ได้ทราบถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะไม่ว่าคุณเป็นใคร มาจากไหน เราก็จะใช้หลักมนุษยธรรมเข้าช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สำหรับการนำไปเผยแพร่ต่อนั้น ก็จะนำหลักมนุษยธรรมไปสอดแทรกในการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้รู้จักคำว่ามนุษยธรรมอย่างเที่ยงแท้ต่อไป

นางสุพรรณนา ทองจำนงต์ ครูโรงเรียนราชินี กล่าวว่า ได้รับความรู้เรื่องของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพิ่มเติม ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและคงทนมาก ที่สำคัญได้ทราบถึงเทคนิคกระบวนการต่างๆ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม สำหรับความรู้ที่ได้รับการอบรม จะนำไปเผยแพร่ ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นประวัติกาชาด หรือกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เราจะสอดแทรกกิจกรรมต่างๆ ให้ตรงตามวัยของนักเรียนต่อไป 

นายธราธร ประคองสุข วิทยาจารย์สำนักงานยุวกาชาด กล่าวว่า การนำหลักมนุษยธรรมไปใช้ในการดำรงชีวิต เช่น ถ้าเราต้องการจะช่วยผู้อื่น เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักมนุษยธรรม แต่ถ้าสถานการณ์ ณ จุดนั้น ไม่เอื้ออำนวย การช่วยเหลือมีหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่สำคัญต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการช่วยเหลือ ในฐานะที่เป็นวิทยาจารย์ของสำนักงานยุวกาชาด ถ้าผมได้มีโอกาสไปการอบรมในพื้นที่ต่างๆ ก็จะสอดแทรกเนื้อหาเรื่องหลักมนุษยธรรมให้กับอาสายุวกาชาดต่อไป

          การได้เข้าร่วมการอบรมการกาชาดและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศนั้น ทำให้ทราบว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือเป็นสิ่งแปลกใหม่อีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นในการประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต ต้องขอบคุณสำนักงานยุวกาชาด ที่ได้จัดการอบรมดีๆ แบบนี้ขึ้นมา ใช้ชีวิตอย่างรอบคอบนะครับ สวัสดีครับ






 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น